ฝ่ายกฎหมาย สำนักงานมหาวิทยาลัย
Legal Division of Maejo

บันทึกความร่วมมือทางวิชาการ แบ่งเป็น 2 ประเภท

ได้แก่ บันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding) มีลักษณะเป็นการกำหนดกรอบความร่วมมืออย่างกว้าง ๆ ไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย 

และบันทึกข้อตกลง (Memorandum of Agreement) มีข้อตกลงที่คู่ความร่วมมือประสงค์จะให้มีผลผูกพันทางกฎหมายเช่นเดียวกับสัญญา เช่น ข้อตกลงเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา การจัดการผลประโยชน์ และข้อตกลงด้านการเงิน เป็นต้น 

การจะจัดทำความร่วมมือในรูปแบบใดให้พิจารณาว่าคู่ความร่วมมือได้ตกลงเงื่อนไขระหว่างกันโดยมีสาระสำคัญอย่างไรบ้าง หากยังไม่สามารถลงรายละเอียดได้เพียงพอสำหรับการปฏิบัติ อาจพิจารณาจัดทำในรูปแบบของบันทึกความเข้าใจก่อน

ปรับปรุงข้อมูล : 4/2/2565 11:16:41     ที่มา : ฝ่ายกฎหมาย สำนักงานมหาวิทยาลัย     จำนวนผู้เปิดอ่าน : 1471

กลุ่มข่าวสาร : ข่าวประชาสัมพันธ์ บทความน่าสนใจ

ข่าวล่าสุด

โครงการฝึกอบรมให้ความรู้แก่บุคลากร เรื่อง "กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการกับผู้กระทำความผิดฐานทุจริต" (ครั้งที่ 1)
ระหว่างวันที่ 18-20 มิถุนายน 2567 ฝ่ายกฎหมาย สำนักงานมหาวิทยาลัย ได้จัดโครงการฝึกอบรมให้ความรู้แก่บุคลากร เรื่อง "กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการกับผู้กระทำความผิดฐานทุจริต" ภายใต้โครงการปลูกจิตสำนึกและส่งเสริมค่านิยมต่อต้านการทุจริต ประจำปีงบประมาณ 2567 ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร  ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับกฎระเบียบของมหาวิทยาลัย และกฎหมายกลาง เช่น มาตรการลงโทษทางวินัยของมหาวิทยาลัย การสอบสวนข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด และการดำเนินคดีอาญา  เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้มีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการดำเนินการทางกฎหมายต่อผู้กระทำความผิด ทำให้เกิดความตระหนักถึงผลกระทบจากการที่บุคลากรกระทำการทุจริต และร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสอดส่องดูแลไม่ให้เกิดปัญหาดังกล่าวขึ้น อันจะเป็นการป้องปรามไม่ให้เกิดปัญหาการทุจริตภายในองค์กร  ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวเป็นกิจกรรมที่ต่อเนื่องจากโครงการปลูกจิตสำนึกและส่งเสริมค่านิยมต่อต้านการทุจริต ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีการดำเนินการทั้งทาง Onsite และ Online  แต่เนื่องจากช่องทาง Online มีข้อจำกัดหลายประการที่ทำให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรม หรือสอบถามประเด็นข้อสงสัยได้อย่างเต็มที่  ดังนั้นเพื่อให้เป็นการเปิดโอกาสให้บุคลากรในสังกัดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ในพื้นที่จังหวัดแพร่ และชุมพร ได้มีโอกาสเข้าร่วมการฝึกอบรม และถามตอบปัญหาข้อกฎหมายกับผู้บรรยายได้โดยตรง ฝ่ายกฎหมาย สำนักงานมหาวิทยาลัย จึงเห็นควรจัดโครงการครั้งนี้ขึ้น ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร และ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ โดยแยกดำเนินการเป็น 2 ช่วงเวลา ในการนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์  ศรีเงินยวง รักษาการแทนรองอธิการบดี ในฐานะประธานคณะกรรมการดำเนินงาน ITA ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวเปิดงานโครงการ รวมทั้งร่วมเสวนาเกี่ยวกับกรณีปัญหาการทุจริตภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และมี อาจารย์ ดร.ฐิระ  ทองเหลือ คณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เป็นตัวแทนกล่าวให้การต้อนรับคณะทำงาน  ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวได้รับความสนใจจากบุคลากรในสังกัดมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร เป็นอย่างมาก มีบรรยากาศการแลกเปลี่ยนรู้อย่างเป็นมิตรด้วยมีจุดมุ่งหมายเดียวกันในการพัฒนาองค์กรให้ดียิ่งขึ้น  นอกจากนั้น เมื่อเสร็จสิ้นกิจกรรมการบรรยายแล้ว ผู้บริหารมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร นำโดย อาจารย์ ดร.จักรกฤช ณ นคร ผู้ช่วยคณบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ยังได้พาคณะทำงานเยี่ยมชมพื้นที่หน้าหาด ซึ่งตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าของมหาวิทยาลัยแม่โจ-ชุมพร เพื่อตรวจสอบสภาพปัญหาในการจัดการพื้นที่ ซึ่งเชื่อมโยงกับประเด็นข้อกังวลของสำนักงานป้องกับและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) เรื่องการใช้ทรัพยากรและการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐเพื่อพัฒนาพื้นที่ดังกล่าว เพื่อจะได้ร่วมกันแสวงหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาการจัดการพื้นที่ให้เกิดประโยชน์ต่อภาคประชาสังคมต่อไป   
3 กรกฎาคม 2567     |      139